"Welcome"นางสาวกัญธิชา อิ่มละออ.6.

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

สังคมมนุษย์ 
      มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มมนุษย์์กับสังคมจึงแยกกันไม่ได้ เพราะมนุษย์เกิดมาต้องอาศัย สังคม พึ่งพาอาศัยและมีความสัมพันธ์ต่อกัน มีการจัดระเบียบในการมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีแบบแผน เพื่อเป็น หลักในการดำเนินชีวิตและการอยู่รอด และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเองและสังคม หน้าที่ของสังคม 
1. ผลิตสมาชิกใหม่ 
2. อบรมสมาชิกใหม่ 
3. รักษากฎระเบียบของสังคม
4. ส่งเสริมเศษรฐกิจให้เจริญก้าวหน้า 
โครงสร้างของสังคม 
ความหมายของดครงสร้างสังคม (Social Struction)  คือ ความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีองค์ ประกอบทาง สังคมที่ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ ดำเนินไปอย่างมีระเบียบ อาจออกมาในรูปของความร่วมมือ ความขัดแย้ง การแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนนั้นจะมีเครื่องยึดเหนี่ยว ซึ่งเป็นบรรทัดฐาน ให้คนมาอยู่ รวมกันเป็นสังคมอย่าง สันติสุขได้ 
องค์ประกอบของโครงสร้่างทางสังคม       
โครงสร้างทางสังคมจะมั่นคงเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของสังคมที่สำคัญ 2 ประการดังนี้
1. การจัดการระเบียบสังคม
2. สถาบันทางสังคม
การจัดระเบียบสังคม (Socail Organization) สมาชิกของสังคมมีความแตกต่างกัน ทั้งแนวความคิด และความต้องการ การจัดระเบียบสังคมจึงมีความ จำเป็น เพื่อเป็น ระเบียบสงบสุข จึงต้องมีกระบวนการจัดระเบียบในบทบาทและหน้าที่ของบุคคล 2 ประการคือ 
1. บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) หมายถึง แบบพฤติกรรมกฎเกณฑ์ หรือคตินิยมที่สังคม กำหนดไว้เป็น มาตรฐานในการประพฤติปฎิบัติที่สังคมยอมรับว่าดีและถูกต้องได้แก่ 
1.1 วิถีชาวบ้านหรือวิถีประชา (Folk Ways) หมายถึง แนวทางการปฎิบัติที่บุคคลปฎิบัติจนเกิด ความเคยชิน ไม่มีกฎหมายบังคับ ถ้าไม่ปฎิบัติก็ไม่มีบทลงโทษ แต่อาจถูกตำหนิติเตียน เช่นการใส่ชุดดำไป งานแต่งาน หรือการเสีย มารยาทในสังคมช่นไม่เข้าแถวในการซื้อตั๋วดูภาพยนต์ปิดเสียงโทรศัพท์ในการประชุม สัมมนาหรือในห้องเรียนเป็นต้น
   
ผู้คนจำนวนมากแย่งกันขึ้นรถโดยสาร
1.2 จารีตหรือกฎศีลธรรม (Mores) คือ ข้อห้ามในการกระทำบางอย่างของสังคมซึ่งมีเรื่องกฎ ศีลธรรมเกี่ยวกับ ความดี ความชั่ว เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหากผู้ใดระเมิดจะได้รับการต่อต้านรุ่นแรงกว่า วิถีชาวบ้าน เช่น ทอดทิ้ง ไม่เลี้ยงดูพ่อ-แม่ ยามแก่เฒ่า ไม่เลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
   
ผู้สูงอายุเฝ้ารอลุกหลานมาหา 
1.3 กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎข้อบังคับความประพฤติของบุคคลในสังคมผู้ใดระเมิดไม่ปฎิบัติ มีบทลงโทษ ตาม กฎหมาย ที่กำหนดไว้ เช่น การฆ่าคนตาย การทำร้ายร่างกาย หรือการทิ้งขยะใน ที่สาธารณะเป็นต้น
  
 เมื่อทำผิดกฎหมายจะได้รับโทษ 
2. สถานภาพและบทบาททางสังคม
2.1 สถานภาพ หมายถึง ฐานะ หรือตำแหน่งที่ได้จากการเป็นสมาชิกของสังคมสถานภาพคือตัวกำหนด บทบาทมี 2 อย่างคือ 
       - สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด(Aseribed Status) เช่นเพศ อายุ เชื้อชาติ บุตร ธิดา มารดา สถานภาพที่สังคม กำหนด เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น 
       - สถานภา่พที่ได้มาจากความสามารถ (Achieved Status) ได้แก่สติปัญญาของตนเอง จากการศึกษา เล่าเรียน จาก การทำงาน เช่น กรรมกร แพทย์ วิศวกร ครู พยาบาล ทนายความ ตำรวจ เป็นต้น 2.2 บทบาททางสังคม หมายถึง การกระทำที่แสดงตามสถานภาพเช่น  
ครู อบรมสั่งสอนให้ความรู้แ่นักเรียน
 
พ่อแม่ เลี้ยงดู ให้การอบรมสั่งสอนบุตร 

สถาบันทางสังคม (Institution) หมายถึง แบบแผน พฤติกรรมที่เป็นมาตรฐานของสังคม ที่มีเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของสังคม และมีหน้าที่ทำ ให้สังคม คงสภาพอยู่ได้ สถาบันที่สำคัญ ประกอบด้วย 
1. สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานที่มีบทบาทต่อสังคมมากเพราะมีหน้าที่ในการ อบรม สั่งสอนเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ ให้เป็นคนดีมีคุณภาพของสังคม ซึ่งเกิดจากการสมรส ของชายหญิง ที่ตกลงจะมีชีวิตคู่ร่วมกัน เมื่อให้กำเนิดบุตรหน้าที่ของบิดาและมารดา จึงมีความสำคัญมาก 
2. สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่สนองความต้องการของสังคมด้าน การถ่ายทอดความรู้ทักษะวิชาการ และวิชาชีพเพื่อให้สมาชิกมีความรู้ ความสมารถ 
3. สถาบันการเมืองการปกครอง เป็นแบบอย่างของการคิดการกระทำในเรื่องเกี่ยวกับการรักษา ระเบียบ ความสงบ เรียบร้อยของสังคม พิทักษ์ความถูกต้อง รักษาอธิปไตยของชาติ 
4. สถาบันเศรษฐกิจ ปฎิบัติหน้าที่เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านการผลิต การกระจาย การแลก เปลี่ยน สิ้นค้าและบริการแก่สมาชิกในสังคม 
5. สถาบันศาสนา ปฎิบัติหน้าที่ทางพิธีกรรม อบรมสั่งสอนหลักธรรม เพื่อสนองความต้องการของสังคม ในเรื่องความเชื่อ ความศรัธาของมนุษย์ ช่วยควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคม ทั้งกาย วาจาใจ ให้อยู่ ในระเบียบ เพื่อให้เกิดสันติสุข 
6. สถาบันสื่อสารมวลชน สนองความต้องการของสังคมในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ทำให้บุคคลในสังคม ทันเหตุการณ์ ในโลกยุคปัจจุบัน ทันคน ไม่ตกข่าว 
7. สถาบันนันทนาการ สนองความต้องการสมาชิกในสังคมในด้านการพักผ่อนหย่อนใจการออก กำลังกาย การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจให้มีความแข็งแรงสมบรูณ์ 
 ... อ่านต่อ ...

สังคมมนุษย์